พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล
ทฤษฎี หมายถึง หลักการ คำว่า วิธีการ หมายถึง แบบอย่างหรือกฎเกณฑ์ และ คำว่า สากล
หมายถึง ทั่วไป ดังนั้น พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล หมายถึง พระพุทธศาสนามีหลักคำสั่งสอนที่เป็นหลักการและกฎเกณฑ์
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าถูกต้อง
หลักคำสั่งสอนที่จัดเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล หลายเรื่อง เช่น
หลักกฎแห่งกรรม
หลักแห่งเหตุและปัจจัย
หลักการพัฒนามนุษย์ 4
ด้าน
แต่ที่พระพุทธองค์ทรงนำมาสอนมากเป็นพิเศษ คือ หลักอริยสัจ 4 หรือ หลักความจริงแห่งชีวิต
4 ประการ ได้แก่
1.
ชีวิตแลโลกนี้มีปัญหา
( ทุกข์ )
ชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ล้วนมีปัญหาทั้งสิ้น ปัญหาที่มนุษย์ต้องเผชิญ มีทั้งปัญหาที่เป็นปัญหาสากล
เช่น ปัญหาการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ความไม่สมปรารถนา
ความพลัดพรากจากบุคคล สัตว์ สิ่งของ
2.
ปัญหามีสาเหตุ
มิได้เกิดขึ้นลอยๆ ( สมุทัย
)
ปัญหาที่มนุษย์เผชิญอยู่ดังกล่าวข้างต้น มิใช่เกิดขึ้นลอยๆ
หรือเกิดขึ้นโดยบังเอิญ
โดยไม่มีเหตุปัจจัย ทุกปัญหาเกิดขึ้นอย่างมีสาเหตุทั้งสิ้น
3.
มนุษย์สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
( นิโรธ )
เนื่องจากปัญหาทุกปัญหาย่อมมีสาเหตุ
การแก้ปัญหาได้ต้องสืบสาวหาสาเหตุให้พบแล้วแก้ที่สาเหตุนั้น
ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธศาสนาได้สอนไว้ว่า
มนุษย์มีศักยภาพหรือความสามารถเพียงพอที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยตัวมนุษย์เอง
4.
การแก้ปัญหานั้นต้องใช้ปัญญาและความเพียร ( มรรค )
ในกระบวนการแก้ปัญหานั้น
จำเป็นต้องใช้ปัญญา ( ความรู้
) และวิริยะ ( ความเพียร ) อย่างเกื้อหนุนกัน
จึงจะสามารถแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้
อริยสัจ 4
ประการนี้จัดเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล คือ
สามารถนำไปแก้ปัญหาหรือความทุกข์สำหรับทุกคนได้เป็นอย่างดี
พระพุทธศาสนามีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง
การแก้ปัญหาให้สำเร็จผลด้วยดี นอกจากนี้จะต้องใช้ปัญญาและความเพียรอย่างต่อเนื่องแล้ว
จะต้องปฏิบัติโดยยึดทางสายกลางอีกด้วย
ทางสายกลาง หมายถึง ทางที่ยึดความพอดีหรือความสมดุล
ข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางตามหลัก พระพุทธศาสนา
เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่ง ได้แก่
อริยมรรคมีองค์แปด หรือ มรรค 8
หมายถึงข้อปฏิบัติ 8 ประการ คือ
1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ
เช่น
เห็นว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ ได้แก่ คิดที่จะไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
คิดที่จะไม่พยาบาทอาฆาตผู้อื่นและคิดที่จะไม่เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน
3. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ หมายถึง
การพูดจาที่เว้นจากลักษณะของการพูดชั่ว 4 ประการ ได้แก่
การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด
การพูดคำหยาบ
และการพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ
โดยพูดแต่สิ่งที่จริงมีประโยชน์ พูดด้วยเมตตา พูดวาจาไพเราะ และพูดในเวลาที่ควรพูด
4.สัมมากัมมันตะ
คือ การทำงานชอบ หมายถึง
การประพฤติหรือการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเว้นจากการประพฤติชั่วทางกาย 3 ประกาย คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์
และการประพฤติผิดในกาม
5.
สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ เว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด เช่น
การหลอกลวงเขากิน การปล้นเขา
การบังคับผู้อื่นให้ค้าประเวณี
การค้ายาเสพติด เป็นต้น
6.
สัมมาวายามะ คือ ความเพียรพยายามชอบ หมายถึง
ความเพียรพยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง ได้แก่
ความเพียรพยายามระมัดระวังตนมิให้ทำความชั่ว เพียรพยายามละความชั่วที่เกิดขึ้นในตน
เพียรพยายามทำความดีให้เกิดขึ้นในตน
และเพียรพยายามรักษาคุณงามความดีที่เกิดขึ้นในตนให้อยู่ตลอดไป
7.
สัมมาสติ คือความระลึกชอบ หมายถึง
การตั้งสติกำหนดพิจารณาให้เห็นสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏตามสภาพความเป็นจริง ได้แก่ การพิจารณาร่างกาย จิต
และความรู้สึกของตนให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริง
8.
สัมมาสมาธิ คือความตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่
การตั้งจิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยชอบ